วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย

3 ความคิดเห็น:

เวลา 3 สิงหาคม 2554 เวลา 06:33 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พัฒนาการกำเนิดความคิดทางกฎหมาย

การทำความเข้าใจความหมายของ " กฎหมาย" ต้องทำความเข้าใจในปรัชญากฎหมายในสำนักความคิดต่างๆ และจะทำให้ผู้ศึกษามีทัศนะคติที่กว้างขึ้น

สำนักความคิดต่างๆหมายถึงแนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายที่นักปราชญ์กฎหมายกลุ่มหนึ่งมีความคิดเห็นหรือความเชื่อตรงกัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกฎหมายมีส่วนสำคัญหลายประการ ทั้งแนวความคิดทางศาสนา จารีตประเพณี ความคิดเห็นของนักปรัชญากฎหมาย เหตุการณืต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิด การ เปลี่ยนแปลง การใช้และการพัฒนากฎหมาย

 
เวลา 22 สิงหาคม 2554 เวลา 08:17 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าระพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ( พระบิดาแห่งนักกฎหมายไทย) ให้คำนิยาม ว่า
กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ

2.ศาตราจารย์ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ให้คำนิยามว่า "กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับที่ได้บัญญัติขี้นโดยผู้มีอำนาจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมอย่างหนึ่งอย่างใด และถ้ามีการฝ่าฝืนมีความผิด"

3.ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย แบ่งความหมายกฎหมายออกเป็น 2 แนวทาง คือ
3.1 กฎหมายตามเนื้อความ
- ต้องเป็นข้อบังคับของรัฐ
- กำหนดความประพฤติของบุคคล
- ถ้าฝ่าฝืนต้องมีสภาพบังคับ
3.2 กฎหมายตามแบบพีธี
- กฎหมายที่ออกโดยวิธีบัญญัติกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นต้น.

4. ศ.ดร. ปรีดี เกษมทรัพย์ ให้คำนิยามว่าว่า " กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ซึ่งมีกระบวนการที่เป็นกิจลักษณะ

 
เวลา 22 สิงหาคม 2554 เวลา 09:06 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ลักษณะของกฎหมายแบ่งได้ เป็น 5 ประการ

1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
- คำสั่งหรือข้อบังคับที่มีลักษณะให้ทุกคนต้องปฎิบัติตาม แต่หากเป็นการเชื้อเชิญ หรือ ขอความร่วมมือ ไม่เป็นการจำกัดสิทธิ เช่นนี้จึงไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย

2. กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์ หรือผู้ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
- รัฎฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ สำหรับในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่จะให้ประชาชนทั้งหมดมาออกกฎหมายคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องให้ประชาชนเลือกตัวแทนขึ้นมาแทนในการออกกฎหมาย เช่นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นผู้ออกกฎหมายแทนประชาชน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราฎร,สมาชิกวุฒิสภา.

3.กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป
- คือเมื่อประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต่กฎหมายโดยเสมอภาค แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีฑูตต่างประเทศที่เข้ามาประจำในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นเสียภาษีอากร, ในความผิดอาญา อาจได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องดำเนินคดีในประเทศไทยแต่จะต้องส่งไปดำเนินคดีในประเทศของฑูตนั้นๆ ฯลฯ

4.กฎหมายใช้บังคับได้ตลอดไป
- เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ย่อมมีผลบังคับตราบเท่าที่ไม่มีการยกเลิกกฎหมายนั้นหรือการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น.
- สุภาษิตกฎหมาย กล่าวว่า " กฎหมายนอนหลับในบางครา แต่กฎหมายไม่เคยตาย"

5. กฎหมายจะต้องมีมาตราการในการบังคับ
- คือ การกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อในเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก เช่น กฎหมายอาญา กำหนด โทษ คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน หรือทางแพ่ง คือการชดค่าสินไหมทดแทน หรือบังคับให้ทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรืองดเว้นกระทำการ ฯลฯ

 

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก